ศึกษาดูงานพื้นที่ใช้น้ำในเขตจังหวัดเชียงใหม่ รุ่นที่4

ศึกษาดูงานพื้นที่ใช้น้ำในเขตจังหวัดเชียงใหม่กลุ่มบริหารการใช้น้ำนอกเขตพื้นที่ชลประทานจังหวัดบุรีรัมย์ รุ่นที่ 4 เมือวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2562 สถาบันบริหารจัดการน้ำชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ได้นำตัวแทนจากกลุ่มบริหารจัดการน้ำชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ เข้าศึกษาดูงานที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการน้ำต้นแบบ ระบบการบริหารจัดการน้ำชุมชน รูปแบบการบริหารจัดการน้ำ และการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเพื่อให้เข้ากับบริบทของชุมชน  โดยมีคณะร่วมเดินทางเป็น อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ทีมพี่เลี้ยง จากสถาบันจัดการน้ำชุมชน ภายใต้สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และตัวแทนจากกลุ่มบริหารจัดการน้ำชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มละ 2-3 คน จำนวน 14 กลุ่ม 4 อำเภอ ได้แก่ 1)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลท่าโพธิ์ชัย อำเภอหนองกี่  2)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลเมืองไผ่ อำเภอหนองกี่ 3)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลโคกสูง อำเภอหนองกี่ 4)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 5)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 6)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลเจริญสุข อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 7)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลอีสานเขต อำเภอเฉลิมพระเกียรติ 8)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลหนองชัยศรี อำเภอหนองหงส์ 9)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลห้วยหิน อำเภอหนองหงส์ 10)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลไทยสามัคคี อำเภอหนองหงส์  และ 11)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลโคกเหล็ก อำเภอห้วยราช

จุดศึกษาที่ 1 ฝายพญาคำ คณะผู้มาศึกษาดูงานได้เรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาของการจัดการการน้ำในอดีตโดยการจัดการน้ำแบบระบบเหมืองฝายที่มีวัฒนธรรมการจัดการซึ่งมีมาเป็นเวลากว่า ๗๐๐ ปี และการแบ่งรอบเวรการใช้น้ำ ตลอดจนการดูแลรักษาแหล่งน้ำ และกระบวนการส่งต่อภูมิปัญญาในการถ่ายทอดภูมิปัญญาสืบต่อมายังรุ่นลูกหลาน

จุดศึกษาที่ 2 อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ คณะผู้มาศึกษาดูงานได้เรียนรู้ถึงรูปแบบการบริหารจัดการน้ำ และการบริหารจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเทคนิคกระบวนการในการเสนอโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานๆ ในการพัฒนาแหล่งน้ำ ระบบการจัดสรรรอบเวรการใช้น้ำที่ใช้ภายในกลุ่ม การจัดตั้งกลุ่ม การแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการที่ดูแลในแต่ละด้าน และยังเป็นการแลกเปลี่ยนรู้ในรูปแบบของการจัดการกลุ่ม แนวทางการแก้ปัญหาต่างๆ

จุดศึกษาที่ 3 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะผู้มาศึกษาดูงานได้เรียนรู้ถึงรูปแบบการปลูกพืชใช้น้ำน้อย โดยวิธีการปลูกพืชแบบระบบน้ำหยด ที่จะเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดน้ำและยังช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำใช้ในช่วงหน้าแล้ง วิธีการตรวจวัดความชื้นของดิน ความชื้นภายดินนั้นส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชและยังมีผลต่อการใช้น้ำ การจัดตารางในการปลูกพืช ความเหมาะสมฤดูกาลการปลูกพืช ชนิดพืชที่ใช้น้ำน้อย การใช้เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยการผลิต การเลือกพันธุ์พืชที่เหมาะกับการเกษตรแบบใช้น้ำน้อย วิธีการป้องกันและรับมือกับโรคพืชรวมไปถึงการวิธีการหาตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตร

จุดศึกษาที่ 4 บ้านผาหมอน คณะผู้มาศึกษาดูงานได้เรียนรู้ถึงรูปแบบบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ การแบ่งหน้าที่ตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย การจัดสรรน้ำที่มีรูปแบบที่เป็นรูปธรรม อีกทั้งยังได้ทราบถึงหลักการและแนวคิดของคนในพื้นที่ที่มีต่อแหล่งน้ำ การสร้างจิตสำนึก อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การดำรงชีวิตร่วมกับป่าไม้และแหล่งน้ำ พร้อมทั้งยังได้การเรียนรู้ประเพณี วัฒนธรรมของชาวบ้านผาหมอนที่มีต่อแหล่งต้นน้ำ การสืบสาน อนุรักษ์ให้แก่คนรุ่งหลังได้ตระหนักถึงการใช้น้ำ การบริหารจัดการน้ำ การเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่บุคคลที่เข้ามาเยี่ยมชม ทางคณะผู้ศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเรียนรู้นำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันได้

จุดศึกษาที่ 5 เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกผาดอกเสี้ยว การผันน้ำจากที่สูง คณะผู้มาศึกษาดูงานได้เรียนรู้ถึงระบบการผันน้ำจากที่สูงโดยการใช้หลักการตามธรรมชาติ คือ การไหลของน้ำจะลงจากที่สูงที่ต่ำเสมอ โดยการผันน้ำตามแนวเขา การใช้ระบบท่อและระบบส่งน้ำคอนกรีตแบบรางเปิด การร่วมกลุ่มบริหารจัดการน้ำภายชุมชน การจัดทำระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม การอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำ การปลูกฝังจิตสำนึกการใช้ประโยชน์จากแหล่ง่ำ การดำรงชีวิตร่วมกับธรรมชาติ          

ภายหลังจากที่คณะศึกษาดูงานได้ศึกษาเรียนรู้จุดศึกษา แต่ละจุดเรียนรู้แล้วทางกลุ่มบริหารจัดการน้ำสามารถนำแนวคิด กระบวนการต่าง ๆ ที่ได้รับฟังจากการบรรยายและพบเห็นต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง ในลำดับต่อไป

Scroll to Top