ศึกษาดูงานพื้นที่ใช้น้ำในเขตจังหวัดเชียงใหม่ รุ่นที่3

ศึกษาดูงานพื้นที่ใช้น้ำในเขตจังหวัดเชียงใหม่กลุ่มบริหารการใช้น้ำนอกเขตพื้นที่ชลประทานจังหวัดบุรีรัมย์ รุ่นที่ 3 เมือวันที่ 23-26 ตุลาคม 2562 สถาบันบริหารจัดการน้ำชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ได้นำตัวแทนจากกลุ่มบริหารจัดการน้ำชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ เข้าศึกษาดูงานที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อศึกษาระบบการบริหารจัดการน้ำต้นแบบ ระบบการบริหารจัดการน้ำชุมชน รูปแบบการบริหารจัดการน้ำ และการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเพื่อให้เข้ากับบริบทของชุมชน  โดยมีคณะร่วมเดินทางเป็น อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ทีมพี่เลี้ยง จากสถาบันจัดการน้ำชุมชน ภายใต้สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และตัวแทนจากกลุ่มบริหารจัดการน้ำชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มละ 2-3 คน จำนวน 12 กลุ่ม 5 อำเภอ ได้แก่ 1)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลเมืองไผ่ อำเภอกระสัง  2)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลศรีภูมิ อำเภอกระสัง 3)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลบ้านปรือ อำเภอกระสัง 4)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลสองชั้น อำเภอกระสัง 5)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลทุ่งกระเต็น อำเภอหนองกี่ 6)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลโคกสว่าง อำเภอหนองกี่ 7)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลบุกระสัง อำเภอหนองกี่ 8)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลตาจง อำเภอละหานทราย 9)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลโคกว่าน อำเภอละหานทราย 10)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลสระทอง อำเภอหนองหงส์ 11)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลสระแก้วอำเภอหนองหงส์ และ 12)กลุ่มบริหารจัดการน้ำตำบลตาเสา อำเภอห้วยราช

จุดศึกษาที่ 1 ฝายพญาคำ คณะผู้มาศึกษาดูงานได้เรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาของการจัดการการน้ำในอดีตโดยการจัดการน้ำแบบระบบเหมืองฝายที่มีวัฒนธรรมการจัดการซึ่งมีมาเป็นเวลากว่า ๗๐๐ ปี และการแบ่งรอบเวรการใช้น้ำ ตลอดจนการดูแลรักษาแหล่งน้ำ และกระบวนการส่งต่อภูมิปัญญาในการถ่ายทอดภูมิปัญญาสืบต่อมายังรุ่นลูกหลาน

จุดศึกษาที่ 2 ประตูน้ำท่าวังตาล คณะผู้มาศึกษาดูงานได้เรียนรู้ถึงคุณประโยชน์ของประตูระบายน้ำแบบคอนกรีตสมัยใหม่ ที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบเทคโนโลยี ซึ่งมีความสามารถในการระบายน้ำได้อย่างรวดเร็วซึ่งช่วยลดปัญหาน้ำท่วม และการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง อีกทั้งยังสามารถช่วยบรรเทาปัญหาน้ำเสีย โดยการระบายน้ำเสียและตะกอนที่ตกทับถมที่อยู่บริเวณท้องน้ำให้ไหลไปด้านท้าย เป็นการถ่ายเท หมุนเวียนน้ำ ทำให้คุณภาพน้ำในลำน้ำให้ดีขึ้น

จุดศึกษาที่ 3 สถานีสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้าบ้านห้วยโจ้ – หนองผำ ทางคณะผู้มาศึกษาดูงานได้เรียนรู้ถึงรูปแบบการบริหารจัดการน้ำ และการบริหารจัดการกลุ่ม ตลอดจนเทคนิคกระบวนการในการเสนอโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานๆ ในการพัฒนาแหล่งน้ำ ตลอดจนระบบการจัดสรรรอบเวรการใช้น้ำ การแบ่งหน้าที่ของคณะกรรมการที่ดูแลในแต่ละด้าน และยังเป็นการแลกเปลี่ยนรู้ในรูปแบบของการจัดการกลุ่ม และแนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ

จุดศึกษาที่ 4 ฝายวังปาน คณะผู้มาศึกษาดูงานได้เรียนรู้ถึงระบบการทำงานเป็นประตูระบายน้ำ การกักเก็บน้ำไว้ใช้แหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภค จากประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ช่วยเก็บกักน้ำไว้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภค แก้ปัญหาการแย่งน้ำ และการปัญหาภัยน้ำท่วม และเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำรูปแบบของประตูระบายน้ำมาเป็นแนวทางในการสร้างในลำน้ำของพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ต่อไป

จุดศึกษาที่ 5 โครงการหลวงขุนวาง คณะผู้มาศึกษาดูงานได้เรียนรู้ถึงรูปแบบการปลูกพืชชนิดต่างๆ พืชเศรษฐกิจ พืชที่มีความต้องการทางการตลาดสูง และพืชเมืองหนาว เรียนรู้การเพาะกล้าผัก รูปแบบการการส่งเสริมเกษตรกรชาวเขา ของทางศูนย์พัฒนาในการหาพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสร้างรายได้ที่มั่นคงแก่เกษตรกร และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิต และการอนุรักษ์ดิน น้ำ และป่า

จุดศึกษาที่ 6 เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกผาดอกเสี้ยว คณะผู้มาศึกษาดูงานได้เรียนรู้ถึงระบบธรรมชาติของต้นน้ำและการไหลของลำธาร และการเรียนรู้การผันน้ำจากที่สูงบนภูเขามาใช้ในพื้นที่แปลงเกษตร และการทำนาขั้นบันได  ภูมิปัญญาของชาวปกาเกอญอ เรียนรู้ถึงคุณประโยชน์ของการอยู่ร่วมกับป่า

          ภายหลังจากที่คณะศึกษาดูงานได้ศึกษาเรียนรู้จุดศึกษา แต่ละจุดเรียนรู้แล้วทางกลุ่มบริหารจัดการน้ำสามารถนำแนวคิด กระบวนการต่าง ๆ ที่ได้รับฟังจากการบรรยายและพบเห็นต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถมาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง ในลำดับต่อไป

Scroll to Top